วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552

คำตอบข้อสอบสังคม

สังคม
1ให้บอกลักษณะภูมิประเภทของภาคเหนืย
ตอบ เขตหินเก่าภาคตะวันตกเฉียงเหนือประกอบด้วยเทือกเขาอายุเก่าแก ซึ่งถูกธารน้ำแข็งกัดเซาะจนสึกร่อนพังทลาย กระทั่งกลายเป็นที่ราบสูง และยังทำให้ชายฝั่งทะเลมีลักษณะเว้าแหว่งเป็นอ่าว ขนาดเล็กที่มีน้ำลึก เรียกว่า ฟยอร์ด จำนวนมาก เช่น ชายฝั่งประเทศนอร์เวย์ และแคว้นสกอตแลนด์ ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญในเขตนี้ ได้ แก่ เทือกเขาและที่ราบสูงในคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย และหมู่เกาะบริติช เช่น เทือกเขาเชอเลน ในคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย และเทือกเขาแกรมเพียน ในสกอตแลนด์ เป็นต้น
2แม่น้ำจาวพะยาใลยพ่านจังหวัดใดบ้าง
ตอบ 1. เมืองสกลนคร ชาวย้อ 2. เมืองวานรนิวาส ชาวโย้ย
3. เมืองกุสุมาลย์ ชาวโส้ 4. เมืองพรรณานิคม ชาวผู้ไทวัง (หรือเว)
5. เมืองวาริชภูมิ ชาวผู้ไทกะป๋อง 6. เมืองจำปาชนบท (พังโคน) ชาวลาว อิสาน
3ให้บอกแหล่งน้ำที่สำคัญของภาคเหนือ
ตอบ 1.แม่น้ำชี 2.ลำห้วยก้ากวาก3.กุด หนอง บึง 4.ฝายกั้นน้ำ5.อ่างเก็บน้ำบ้านผือ

วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

สถานที่ทองเที่ยวตะวันออกเฉียงเหนือ


**ขอไม้คดีป่าสาละวิน สร้างอนุสรณ์เตือนใจคนตัดไม้ **
แม่ฮ่องสอน-อบต.แม่สะเรียงขอไม้สาละวิน สร้างบ้านเรือนไทย บนเนื้อที่กว่า 15 ไร่ หวังเป็นแหล่งท่องเที่ยวและอนุสรณ์ระลึกถึงป่าสาละวิน ที่ถูกขบวนการทำไม้เถื่อนลักลอบตัด
ว่าที่ร้อยตรี เฉลิม พลับพลึงไพร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สะเรียง (อบต.แม่สะเรียง ) ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า หลังจากที่รัฐบาลได้มีนโยบาลนำไม้ของกลางในป่า
สาละวินไปเก็บไว้ที่ศูนย์กลางทหารม้า จังหวัดสระบุรี ซึ่งขณะนี้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ( อ.อ.ป ) กำลังเคลื่อนย้ายไม้ของกล่าวจากป่าสาละวิน ไปยังจังหวัดสระบุรี
ในส่วนของชาวแม่สะเรียงมีความเห็นว่า ไม้ของกลางในป่าสาละวิน ชาวอำเภอแม่แสะเรียง ก็เป็นเจ้าของพื้นที่ รัฐบาลน่าจะให้ไม้ของกลางดังกล่าวแก่ชาวอำเภอแม่สะเรียงเพื่อนำไปก่อสร้างบ้านเรือนไทย เพื่อเป็นอนุสรณ์โดยการก่อสร้างให้เข้ากับวัฒนธรรมของชาวอำเภอแม่สะเรียง และเพื่อให้ลูกหลานรุนหลังได้เห็น
ไม้ป่าสาละวิน และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอแม่สะเรียงอีกด้วย
นายก อบต.แม่สะเรียง กล่าวต่ออีกว่า การก่อสร้างอนุสรณ์ดังกล่าว ทาง อบต.แม่สะเรียงได้กำหนดขึ้นที่บริเวณดอยสันป่าคา หมู่ที่ 8 ตำบลแม่สะเรียง บนเนื้อที่ 15 ไร่ หรือบริเวณสวนหย่อมบ้านจอมแจ้ง หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สะเรียง บนเนื้อที่ 1 ไร่ 20 ตารางวา โดยให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้ดำเนินการออกแบบบ้านทรงเรือนไทย
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวมีความโปร่งใสโดยจะให้คณะกรรมการหมู่บ้านละ 10 คนเข้ามามีส่วนร่วมในการนำไม้ของกลางมาดำเนินการก่อสร้างบ้านทรงเรือนไทย อีกทั้งจะเชิญ ทหาร/ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเข้ามาเป็นสักขี่พยานในการแปรรูปไม้ในการก่อสร้างบ้านเรือนทรงไทย ดังนั้น การดำเนินการจะไม่มีคำว่าหมกเม็ดอย่างแน่นอน
ด้านนายนิมิต ศรีภักดี ผู้อำนวยการสำนักบริการจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ที่ 17 อำเภอแม่สะเรียง เปิดเผยว่า การที่ อบต.มีความประสงค์จะขอไม้ของกลางในป่าสาละวินนำมาก่อสร้างบ้านเรือนไทยนั้น อบต.สามารถยื่นเรื่องขอไม้ดังกล่าวได้จากผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพราะผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะกรรมการตรวจนับไม้ป่าสาละวิน แต่ในความเห็นส่วนตัวแล้วก็ไม่ขัดข้อง แต่ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการฯ เนื่องจากป่าสาละวิน อยู่ในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง
ด้านนายสุพจน์ เลาวัณย์ศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีไม้ของกลางที่ถูกลักลอบตัดในพื้นที่ป่าสาละวินและเก็บรักษาไว้ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า จากการประชุมประชาคมอำเภอแม่สะเรียง ซึ่งมีความเห็นเช่นกันว่าจะปลูกบ้านในลักษณะใช้ท่อนชุงนำมาปลูกบ้านเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้แก่ชาวอำเภอแม่สะเรียง โดยไม่ให้มีการแปรรูปไม้ของกลาง และจะต้องให้สิ้นสุดคดีเป็นที่เรียบร้อยก่อน จึงจะนำไม้ของกลางในป่าสาละวินมาดำเนินการได้

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

อวัยวะภายใน

อวัยวะภายใน
(********************)
ตำแหน่งที่ตั้งของอวัยวะภายใน

เมื่อได้เรียนรู้ถึงเส้นทางเดินของพลัง และ โลหิต เพื่อเป็นแนวทางสู่การเรียนรู้จุดสำคัญต่างๆของร่างกายแล้ว สิ่งที่ขาดเสียไม่ได้คือการเรียนรู้ที่ตั้ง ของอวัยวะภายใน (อู๋จั้งลิ่วฝู่) การแพทย์จีน ได้จัดแบ่งอวัยวะภายในออกเป็น 2 ส่วน คือ อวัยวะภายในทั้ง 5 (อู๋จั้ง) และ อวัยวะภายในทั้ง 6 (ลิ่วฝู่) อวัยวะภายในทั้ง 5 คือ หัวใจ ปอด ม้าม ตับ และ ไต ส่วนอวัยวะทั้ง 6 คือ ถุงน้ำดี กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ และ สามส่วน ยังมีเยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งเป็นเกราะป้องกันหัวใจ มีส่วนสัมพันธ์กับหัวใจ จึงจัดเข้าในอวัยวะทั้ง 5 รวมอวัยวะ 12 ชนิด ทุกๆชีวิตในโลกนี้จะต้องมีอวัยวะภายในทั้งนั้น อวัยวะภายในเป็นส่วนที่สำคัญของร่างกายมนุษย์ และ สัตว์ทุกชนิด ฉะนั้น ผู้ที่ศึกษาวิชาศิลปะการป้องกันตัว จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ที่ตั้ง ของอวัยวะภายใน เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน มิให้อวัยวะภายในได้รับบาดเจ็บจากต่อสู้ที่ตั้งของอวัยวะทั้ง 5 (อู๋จั้ง) ดังนี้ 1. หัวใจ มีขนาดเท่ากำปั้น อยู่ที่ทรวงอกระหว่างปอดทั้งสอง 2. ปอด มีสองข้าง ลักษณะคล้ายฟองน้ำ อยู่บริเวณทรวงอกด้านซ้าย และขวาโดยมีซี่โครง เป็นเกราะป้องกัน 3. ม้าม มีขนาดเท่ากำปั้น คล้ายเมล็ดถั่วดำ ลักษณะคล้ายฟองน้ำ มีสีม่วง อยู่ในช่องท้องด้านหลังของกระเพาะอาหารค่อนไปทางซ้ายของกระเพาะอาหาร 4. ตับ เป็นอวัยวะภายในที่ใหญ่ที่สุด มีน้ำหนักเกือบกิโลครึ่ง อยู่ด้านขวาใต้ชายโครง คนละด้านกับกระเพาะอาหาร 5. ไต มีสองข้าง อยู่ด้านหลังของท้องน้อยต่ำกว่าซี่โครงเล็กน้อย มีลักษณะคล้าย ถั่วดำ ความยาวประมาณ 4-5 นิ้ว กว้างประมาณ 2-3 นิ้ว หนาประมาณ 1 นิ้วที่ตั้งของอวัยวะทั้ง 6 (ลิ่วฝู่) ดังนี้1. ถุงน้ำดี อยู่ส่วนล่างของตับ มีเยื่อยึดเหนี่ยวไว้ ถุงน้ำดีจะเชื่อมติดกับส่วนกลางของท่อน้ำดีซึ่งมาจากตับ ขนาดยาวประมาณ 10 เซ็นติเมตร2. กระเพาะอาหาร มีขนาดความยาวจากส่วนบนลงมาปลายล่างสุดประมาณ 20 กว่า เซ็นติเมตร อยู่ตรงส่วนท้องใต้กระบังลมที่ขอบกระดูกซี่โครงค่อนไปทางซ้าย ด้านหลังของกระเพาะอาหารมีตับอ่อนอยู่3. ลำไส้ใหญ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 นิ้ว ยาวประมาณ 1.5 เมตร อยู่ในช่องท้อง ตอนต้นต่อจากลำไส้เล็ก เรียกว่า ซีคัม4. ลำไส้เล็ก เป็นส่วนที่ต่อจากกระเพาะอาหาร ยาวประมาณ 7.5 เมตร ขดรวมกันอยู่ในช่องท้อง บริเวณรอบๆสะดือ5. กระเพาะปัสสาวะ เป็นถุงกล้ามเนื้อ อยู่ทางด้านหน้าของกระดูกเชิงกราน บริเวณท้องน้อย6. สามส่วน เป็นส่วนที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในแบ่งเป็นสามส่วน คือส่วนบน ส่วนกลาง ส่วนล่าง ช่วยควบคุมการหมุนเวียนของโลหิต ระบบทางเดินหายใจ ระบบการย่อย และระบบขับถ่าย


ภาพประกอบ โครงสร้างอวัยวะภายใน อาจารย์ เกรียงไกร เถลิงพล ( ลี )

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

ประวัติบิดาลูกเสือโลก

^_^ประวัติบิดาลูกเสือโลก๛
ผู้ให้กำเนิดลูกเสือโลกคือ ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ แห่ง กิลเวลล์ ซึ่งสมาชิกในวงการลูกเสือโลก เรียกชื่อของท่านว่า บี.พี. ท่านเป็นชาวอังกฤษ เกิดในกรุงลอนดอนเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2400 การทดลองการฝึกอบรมเด็กชายของ บี.พี. ในปี พ.ศ. 2450 ขณะนั้น บี.พี. มีอายุ 50 ปี จึงปลดเป็นทหารกองหนุนและได้รับยศเป็น นายพลโท บี.พี. ได้เริ่มทดลองการฝึกอบรมเด็กชายเพื่อให้เป็นพลเมืองดีตามแบบใหม่ของท่าน คือนำเด็กชาย 21 คน ไปอยู่ค่ายพักแรมที่ เกาะบราวน์ซี เป็นเวลา 9 คืน ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม ถึงเช้าวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2450 โดยท่านเป็นผู้อำนวยการ ภายหลังจากการทดลองอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี แล้ว ในปี พ.ศ. 2501 บี.พี. ได้รีบเรียบเรียงและจัดพิมพ์หนังสือคู่มือการฝึกอบรมลูกเสือขึ้นและออกจำหน่าย ให้ชื่อว่า "Scouting For Boys" ซึ่งแปลได้ว่า "การลูกเสือสำหับเด็กชาย" หนังสือเล่มนี้ได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการลูกเสือ สาระสำคัญ คำปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ลูกเสือ รหัส การแสดงความเคารพ การจับมือซ้ายแบบ และ เครื่องแบบของลูกเสือ แนวการฝึกอบรมลูกเสือด้วยวิธีต่างๆ เช่น ระบบหมู่ การเล่นเกม การร้องเพลง และการเดินทางไกลอยู่ค่ายพักแรม เป็นต้น หนังสือเล่มนี้ได้รับความนิยมจากเด็กอังกฤษ ตลอดจนประชาชนทั่วไป สามารถจำหน่ายได้ดี ปัจจุบัน วงการลูกเสือทั่วโลกถือว่าการทดลองอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี เป็นการเริ่มต้นของการลูกเสือโลก และถือว่า บี.พี. เป็นบิดาแห่งลูกเสือโลก
(********^__^********)

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
1. จอภาพ (Monitor
)
ซึ่งจะใช้หลอดสุ เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะจะติดต่อโดยตรงกับผู้ใช้ ชนิดของจอภาพที่ใช้ในเครื่องพีซีโดยทั่วไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
- จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube) โดยมากจะพบในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ซึ่งลักษณะ จอภาพชนิดนี้จะคล้ายโทรทัศน์
จอแบบ CRT
การทำงานของจอประเภทนี้จะทำงานโดย อาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ ซึ่งในส่วยของจอแบบ Shadow Mask นั้น จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็กๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch ซึ่งในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad ในส่วนของจอแบบ Trinitron นั้นจะมีการทำงานที่เหมือนกันแต่ต่างกันที่ ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้ โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้มากขึ้น สำหรับจอ Trinitron ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกันว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย
- จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) ซึ่งมี ลักษณะแบนราบ จะมี ขนาดเล็กและบาง เมื่อเปรียบเทียบกับจอภาพแบบซีแอลที
จอแบบ LCD
การทำงานนั้นจะไม่เหมือนกับจอแบบ CRT แม้สักนิดเดียว ซึ่งการแสดงภาพนั้นจะซับซ้อนกว่ามาก การทำงานนั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวด มาทำการเปลี่ยนและ บังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการซึ่งการแสดงสีนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนด ไว้ตามมาตรฐานของแต่ละ บริษัท จึงทำให้จอแบบ LCD มีขนาดที่บางกว่าจอ CRT อยู่มาก อีกทั้งยังกินไฟน้อยกว่า จึงทำให้ผู้ผลิตนำไปใช้งานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่โน้ตบุ๊ค และเดสโน้ต ซึ่งทำให้เครื่องมีขนาดที่บางและเล็กสามารถพกพาไปได้สะดวก ในส่วนของการใช้งานกับเครื่องเดสก์ท็อปทั่วไป ก็มีซึ่งจอแบบ LCD นี้จะมีราคาที่แพงกว่าจอทั่วไปอยู่ประมาณ 2 เท่าของ ราคาในปัจจุบัน
2. เคส (Case)
เคส คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น
เคส (case)
3. พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ
Power Supply
4. คีย์บอร์ด (Keyboard)
เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลที่สำคัญที่สุด มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ ของเครื่องพิมพ์ดีด มีจำนวนแป้น 84 - 105 แป้น ขึ้นอยู่กับแป้นที่เป็น กลุ่มตัวเลข (Numeric keypad) กลุ่มฟังก์ชัน (Function keys) กลุ่มแป้นพิเศษ (Special-purpose keys) กลุ่มแป้นตัวอักษร (Typewriter keys) หรือกลุ่มแป้นควบคุมอื่น ๆ (Control keys) ซึ่งการสั่งงานคอมพิวเตอร์และการทำงานหลายๆ อย่างจำเป็นต้องใช้แป้นพิมพ์เป็นหลัก
Keyboard
5. เมาส์ (Mouse)
อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมรองจากคีย์บอร์ด เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า "ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer)" ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด
Mouse
6. เมนบอร์ด (Main board)
แผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆมาไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในพีชี ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียวเครื่องพีชีทุกเครื่องไม่สามารถทำงาน ได้ถ้าขาดเมนบอร์ด
Mainboard
7. ซีพียู (CPU)
ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ 1) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit: ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร อีกทั้งยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ ได้ 2) หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , Athlon
CPU
8. การ์ดแสดงผล (Display Card)
การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย
Display Card หลักกันทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร
9. แรม (RAM)
RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที
SDRAM DDR-RAM RDRAM โดยหลักการทำงานคร่าวๆ ของแรมนั้นเริ่มต้นที่รับข้อมูลจากผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์ Input จากนั้นก็จะส่งข้อมูลไปยัง CPU ในการประมวลผล เมื่อ CPU ประมวลผลเสร็จแล้ว แรมจะรับข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้ว ออกไปยังอุปกรณ์ Output ต่อไป โดยหน่วยความจำแรมที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น SDRAM, DDR-RAM, RDRAM
10. ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน - IDE (Integrated Drive Electronics) เป็นระบบของ ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ การต่อไดร์ฟฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะต่อผ่านสายแพรและคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีอยู่บนเมนบอร์ด ส่วนใหญ่แล้วใน 1 คอนเน็คเตอร์ จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวและบนเมนบอร์ด
Harddisk แบบ IDE
IDE Cable - SCSI (Small Computer System Interface)เป็นอินเตอร์เฟสที่แตกต่างจากอินเตอร์เฟสแบบอื่น ๆ มาก โดยจะอาศัย Controller Card ที่มี Processor อยู่ในตัวเองทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายกับแผงวงจรใหม่โดยจะสนับสนุนการต่ออุปกรณ์ได้ถึง 8 ตัว แต่การ์ดบางรุ่นอาจจะได้ถึง 14 ตัวทีเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้งานในรูปแบบ Server เพราะมีราคาแพงแต่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูง
Harddisk แบบ SCSI
SCSI controller - Serial ATA (Advanced Technology Attachment)เป็นอินเตอร์เฟสแบบใหม่ เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub โดยเป็นอินเตอร์เฟสที่จะมาแทนที่ของ IDE ในปัจจุบัน
Harddisk แบบ Serial ATA
Serial ATA Cable
11. CD-ROM / CD-RW / DVD / DVD-RW
เป็นไดรฟ์สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม หรือดีวีดีรอม ซึ่งถ้าหากต้องการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นจะต้องใช้ไดรฟ์ที่สามารถเขียนแผ่นได้คือ CD-RW หรือ DVD-RW โดยความเร็วของ ซีดีรอมจะเรียกเป็น X เช่น 16X , 32X หรือ 52X โดยจะมี Interface เดียวกับ Harddisk
CD-ROM การทำงานของ CD-ROM ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกกรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น
12. ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)
เป็นอุปกรณ์ที่กำเนิดมาก่อนยุคของพีซีเสียอีก โดยเริ่มจากที่มีขนาด 8 นิ้ว กลายมาเป็น 5.25 นิ้ว จนมาถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 3.5 นิ้ว ในส่วนของความจุเริ่มต้นตั้งแต่ไม่กี่ร้อยกิโลไบต์มาเป็น 1.44 เมกะไบต์ และ 2.88 เมกะไบต์ ตามลำดับ
Floppy Disk Drive ในปัจจุบันการใช้งานฟล็อปปี้ดิสก์นั้นน้อยลงไปมากเพราะ เนื่องจากจุข้อมูลได้น้อยซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการ แต่ฟล็อปปี้ดิสก์ก็ยังคงเป็นมาตรฐานหนึ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมี การพัฒนาฟล็อปปี้ดิสก์ก็ไม่ได้หยุดยั้งไปเสียทีเดียว ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ระบบ Optical ทำให้สามารถขยายความจุไปได้ถึง 120 เมกะไบต์ต่อแผ่น

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

ระเบียบแถวลูกเสือ


พิธีการสวนสนามและกล่าวคำปฎิณาญของคณะลูกเสือ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปณาคณะลูกเสือแห่งชาติ 1 กรกฎาคม
การสวนสนามและกล่าวคำปฎิญาณของลูก



วันที่ ๑ กรกฎาคม ของทุกปี ถือว่าเป็นวันคล้ายวันสถาปณาคณะลูกเสือแห่งชาติ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระองค์ได้ทรงสถาปณากิจการลูกเสือไทยขึ้นเป็นครั้ง แรก เมื่อวันที่ ๑
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ทางคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ จึงได้ถือเอา วันที่ ๑ กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันที่ ลูกเสือทุกคนทุกประเภท จะต้องแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน โดยการกล่าวคำปฏิญาณของลูกเสือเฉพาะพระพักต์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือตัวแทนพระองค์ หรือพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และกระทำพิธีสวนสนาม ซึ่งมีขั้นตอนและพิธีปฎิบัติดังนี้
พิธีการนี้เป็นการจัดในระดับอำเภอหรือที่โรงเรียนซึ่งไม่มีธงคณะลูกเสือแห่งชาติหรือธงลูกเสือประจำจังหวัด
การจัดเตรียมสถานที่
๑.ในการจัดพิธีภายในจังหวัดให้นำธงลูกเสือประจำจังหวัดอัญเชิญโดยกองลูกเสือเกียรติยศมาประจำแท่นที่เตรียมเพื่อรับการเคารพ
๒.เครื่องหมายหรือธงที่จะแสดงจุดที่จะให้ลูกเสือแสดงความเคารพ จะมี ๓ จุด คือ
ธงที่ ๑ ธงเตรียมทำเคารพอยู่ห่างจากผู้รับการเคารพไปทางซ้ายมือของผู้รับการเคารพ ๒๐ ก้าว
ธงที่ ๒ ธงเริ่มทำความเคารพอยู่ห่างจากผู้รับการเคารพไปทางซ้ายมือของผู้รับการเคารพ ๑๐ ก้าว
ธงที่ ๓ ธงเลิกทำความเคารพอยู่ถัดจากผู้รับการเคารพไปทางขวามือของผู้รับการเคารพ ๑๐ ก้าว
ลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่จะเข้าร่วมพิธีสวนสนาม
๑.ประธานในพิธีแต่งเครื่องแบบลูกเสือตามตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง กางเกงขาสั้น ซึ่งประธานถ สำหรับพิธีในจังหวัดจะได้แก่ผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด หรือรองผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด ประธานในพิธีสำหรับอำเภอ ได้แก่ ผู้อำนวยการลูกเสืออำเภอหรือรองผู้อำนวยการลูกเสืออำเภอ



๒.แขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมในพิธีแต่งเครื่องแบบลูกเสือกางเกงขาสั้นตามตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง
๓.ผู้กำกับกองลูกเสือและรองผู้กำกับกองลูกเสือแต่งเครื่องแบบลูกเสือกางเกงขาสั้นตามประเภทของลูกเสือที่ตนทำหน้าที่เป็นผู้กำกับกองและรองผู้กำกับกอง ถ้าเป็นลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ลูกเสือวิสามัญ จะต้องมีไม้ถือของลูกเสือตามประเภทของลูกเสือ ส่วนลูกเสือสำรองไม่ต้องมีไม้ถือ
๔.ลูกเสือแต่งเครื่องแบบลูกเสือตามประเภทของตน ลูกเสือสามัญ มีไม้พลอง นายหมู่มีธงหมู่ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่และลูกเสือวิสามัญ มีไม้ง่าม นายหมู่มีธงหมู่ ลูกเสือสำรองไม่มีไม้พลองหรือไม้ง่าม
๕.ลูกเสือผู้ทำหน้าที่ถือป้ายกองลูกเสือ ๑ คน แต่งเครื่องแบบตามประเภทที่ตนสังกัด
๖.ลูกเสือผู้ทำหน้าที่ ถือธงประจำกองลูกเสือ ๑ คน แต่งเครื่องแบบตามประเภทที่ตนสังกัด
๗.ลูกเสือ ๑ กองจะประกอบด้วยลูกเสือ ๖ - ๘ หมู่ หมู่ ๑ประกอบด้วยลูกเสือ ๗ - ๘ คน
๘.ผู้กำกับกองลูกเสือ ๑ คนและรองผู้กำกับกองลูกเสือ ๑ คน ต่อลูกเสือ ๑ กอง
๙.วงดุริยางค์ที่ร่วมในพิธีแต่งเครื่องแบบลูกเสือตามประเภทที่ตนสังกัด
๑๐.ลูกเสือชาวบ้านแต่งชุดปกติสวมผ้าผูกคอลูกเสือชาวบ้านติดเครื่องหมายคณะลูกเสือแห่งชาติ
การเตรียมแถวและรูปขบวนเพื่อทำพิธีสวนสนาม
๑.ลูกเสือที่ทำหน้าที่ถือป้ายชื่อกองลูกเสือยืนอยู่ด้านหน้าสุด
๒.ลูกเสือที่ทำหน้าที่ถือธงประจำกองลูกเสือยืนห่างจากผู้ถือป้ายกองลูกเสือ ๕ ก้าว
๓.ผู้กำกับกองลูกเสือ ๑ คน ยืนห่างจากผู้ถือธงประจำกองลูกเสือ ๕ ก้าว
๔.รองผู้กำกับกองลูกเสือ ๑ คน ยืนห่างจากผู้กำกับกองลูกเสือ ๕ ก้าว
๕.ลูกเสือจัดแถวหน้ากระดานหมู่ปิดระยะ นายหมู่อยู่ทางขวามือ ห่างจากรองผู้กำกับฯ ๓ ก้าว
๖.ระยะห่างระหว่างหมู่ ๑ ก้าว
๗.ลูกเสือแต่ละกองจะมีผู้กำกับฯ ๑ คน และรองผู้กำกับฯ ๑ คน ยืนต่อกันไปด้านหลังจากกองที่ ๑
๘.กองลูกเสือของแต่ละโรงเรียนจะยืนเรียงกันไป ระยะห่างระหว่างกอง ๕ ก้าว
๙.แถวกองผสม ซึ่งหมายถึงผู้กำกับฯที่มาร่วมพิธีและไม่ได้ประจำกองลูกเสือ จัดแถวหน้ากระดาน เรียง ๘ โดยมีผู้บังคับขบวนสวนสนามยืนตรงกลางหน้าสุด เมื่อเริ่มเดินสวนสนาม
๑๐.แท่นรับความเคารพและพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อยู่ตรงหน้าแถวลูกเสือทั้งหมด
การเริ่มพิธีสวนสนามและกล่าวคำปฎิญาณของลูกเสือ
๑.กองลูกเสือตั้งแถวตามที่กำหนดไว้ ยืนอยู่ในท่าตามระเบียบพัก
๒.กองผสมตั้งแถวอยู่ที่หัวขบวน
๓.ผู้บังคับขบวนสวนสนามยืนประจำที่เตรียมพร้อมที่จะกล่าวรายงานต่อประธานในพิธี
๔.แขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมพิธีตั้งแถวรอรับประธาน
๕.เมื่อถึงเวลาประธานในพิธีมาถึงบริเวณพิธี ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "ลูกเสือทั้งหมดตรง" "เคารพประธานในพิธี (ตรงหน้า-,ทางขวา,ทางซ้าย-ระวัง) " "วันทยาวุธ" ลูกเสือทุกคนทำความเคารพ ผู้ที่มีไม้พลอง ไม้ง่าม ทำวันทยาวุธ ผู้กำกับลูกเสือทำความเคารพด้วยท่าไม้ถือ แขกผู้มีเกียรติ และผู้ที่ไม่มีไม้ถือให้ทำวันทยาหัตถ์ ลูกเสือสำรองยืนในท่าตรงไม่ต้องทำ วันทยาหัตถ์ วงดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์ผู้ที่ถือธงทำความเคารพด้วยท่าธง ผู้ถือป้าย ยืนตรงไม่ต้องทำวันทยาหัตถ์ประธานในพิธีและผู้ติดตามที่แต่งเครื่องแบบลูกเสือรับความเคารพ ด้วยการทำวันทยาหัตถ์ จนจบเพลงหมาฤกษ์

๖.เมื่อวงดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์จบ ผู้บังคับขบวนสวนสนามวิ่งไปรายงานจำนวนผู้บังคับบัญชา ลูกเสือและจำนวนลูกเสือที่มาร่วมในพิธีและเชิญประธานตรวจพลสวนสนามและเดินตามประธานตรวจพล พร้อมผู้ติดตาม ในขณะนั้นทุกคนทำวันทยาวุทธและท่าตรง เมื่อประธานเดินผ่านกองลูกเสือใดให้ผู้ถือธง ประจำกองลูกเสือทำความเคารพด้วยท่าเคารพธง จนตรวจครบทุกกองผู้บังคับขบวนสวนสนามส่งประธาน ประจำที่และกลับประจำที่เดิมสั่ง " เรียบ-อาวุธ " ทุกคนปฎิบัติตาม
๗.ตัวแทนลูกเสือกล่าวรายงานกิจการลูกเสือในรอบปี หรือถ้ามีลูกเสือได้รับเครื่องหมายลูกเสือสรรถ เสริญหรือเหรียญสดุดีลูกเสือหรือได้รับเครื่องหมายวูดแบด ก็อาจจะทำพิธีมอบในเวลานี้
๘.ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "ลูกเสือสำรองเตรียมกล่าวปฎิญาณ - ตามข้าพเจ้า -แสดงรหัส" ทุกคนแสดงรหัสลูกเสือสำรองแสดงรหัสลูกเสือสำรอง ด้วยการทำวันทยาหัตถ์ ๒ นิ้ว ลูกเสืออื่น และผู้อยู่ในบริเวณพิธีแสดงรหัสลูกเสือ ๓ นิ้ว ไม่ต้องกล่าวตาม ลูกเสือสำรองกล่าวตาม
" ข้าสัญญาว่า"
ข้อ ๑ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ข้อ ๒ ข้าจะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรองและบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นทุกวัน
เมื่อกล่าวจบ ผู้บังคับขบวนสนามสั่ง " ลูกเสือสามัญ -ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ๋-ลูกเสือวิสามัญ-ลูกเสือ ชาวบ้าน-กล่าวคำปฎิญาณตามข้าพเจ้า" ทุกคนยังแสดงหรัสอยู่และกล่าวคำปฎิญาณตาม ส่วนลูก เสือสำรองยืนในท่าตรง ไม่ต้องกล่าว
" ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า"
ข้อ ๑ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ข้อ ๒ ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ ๓ ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ

เมื่อกล่าวจบ ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง " เอามือลง - ตามระเบียบพัก " ในการแสดงรหัสของลูกเสือที่ถือไม้พลองหรือไม้ง่าม ให้เอาไม้ง่ามหรือไม้พลองพิงไว้ที่ไหล่ซ้ายโคนไม้ อยู่ระหว่างปลายเท้าทั้ง ๒ แขนซ้ายงอตั้งฉาก มือขวาแสดงหรัส ผู้ที่ถือธงก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ที่ถือไม้ง่าม หรือไม้พลอง ผู้ที่ถือป้านให้ถือป้ายด้วยมือซ้ายมือขวาแสดงรหัส ผู้กำกับที่มีไม้ถือก็แสดงรหัสด้วยมือขวา มือซ้ายถือไม้ถือ ลูกเสือหรือผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่ไม่มีไม้ถือ ก็ให้ยืนตรงแสดงรหัสด้วยมือขวา
๙.เมื่อกล่าวคำปฏิญาณจบประธานให้โอวาท เมื่อจบแล้ว ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "ลูกเสือทั้งหมดตรง" "เตรียมสวนสนาม" หากมีแตรเดี่ยว แตรเดี่ยวก็จะวิ่งมาตรงหน้าประธานและเป่าแตรเตรียมสวนสนาม เมื่อแตรเป่าจบผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "ขวาหัน" ดุริยางบรรเลงเพลงเดินสวนสนาม เช่น เพลงสยามมานุสติ ผู้บังคับขบวนสวนสนามวิ่งไปยืนหน้ากองผสม สั่ง "กองผสม-หน้าเดิน" เมื่อเดินผ่านประธานแล้วให้วิ่งไปยืนทางด้านข้างประธานในท่าวันทยาวุทธ ส่วนกองผสมเดินผ่านไปแล้วเข้าประจำที่เดิม
๑๐.สำหรับกองลูกเสือแต่ละกองเมื่อพร้อมแล้ว รองผู้กำกับฯของแต่ละกองสั่ง "แบกอาวุธ" "หน้าเดิน
๑๑.เมื่อผู้กำกับกองลูกเสือเดินผ่านธงที่ ๑ ให้อยู่ในท่าบ่าอาวุธ ผ่านธงที่ ๒ ให้ทำความเคารพ ผ่านธงที่ ๓ ให้เลิกทำความเคารพ
๑๒.เมื่อรองผู้กำกับกองลูกเสือผ่านธงที่ ๑ ให้สั่ง "ระวัง" และอยู่ในท่าบ่าอาวุธ เมื่อผ่านธงที่ ๒ ให้สั่ง "แลขวาทำ" ตัวรองผู้กำกับก็ทำความเคารพ เมื่อผ่านธงที่ ๓ ก็ให้เลิกทำความเคารพ
๑๓.กองลูกเสือเมื่อรองผู้กำกับสั่ง "แบกอาวุธ"ก็แบกอาวุธและหน้าเดิน เมื่อได้ยินรองผู้กำกับฯสั่ง "ระวัง" ทุกคนก็เตรียมตัวทำความเคารพ เมื่อรองผู้กำกับฯสั่ง "แลขวาทำ " ทุกคนสลัดหน้าไปทางขวายกเว้น นายหมู่ให้หน้ามองตรง แขนแกว่งปกติทุกคน ทั้งนี้ให้เริ่มทำเมื่อได้ยินคำสั่งไม่ต้องรอให้ถึงธงที่ ๒ และเมื่อเดินถึงธงที่ ๓ ให้เลิกทำเองโดยไม่ต้องรอคำสั่ง ๑๔.สำหรับลูกเสือสำรองซึ่งไม่มีไม้พลองหรือไม้ง่าม เมื่อได้ยินคำสั่ง "ระวัง"ก็เดินปกติ เมื่อได้ยินคำ สั่ง "แลขวา-ทำ" ก็สลัดหน้าไปทางขวายกเว้นนายหมู่หน้ามองตรงไปข้างหน้า แขนทั้ง ๒ ข้างแนบลำตัวไม่ต้องทำวันทยาหัตถ์ เมื่อผ่านธงที่ ๓ ก็เดินแกว่งแขนปกติไม่ต้องรอคำสั่ง
๑๕.เมื่อลูกเสือทุกกองเดินผ่านประธานครบแล้วก็เดินกลับประจำที่เดิมรอส่งประธาน
๑๖.ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "ลูกเสือทั้งหมด-ตรง" "เคารพประธาน-ตรงหน้าระวัง " "วันทยาวุธ" ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์ ทุกคนทำความเคารพเหมือนเมื่อตอนที่ประธานมา
๑๗.เมื่อวงดุริยางค์บรรเลงจบ ประธานกลับ ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "เรียบ - อาวุธ" "เลิกแถว" เป็นอันเสร็จพิธี หลังจากนั้นอาจจะมีกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ของลูกเสือแต่ละกอง
การทำความเคารพของผู้ถือธงประจำกองลูกเสือ
ขณะอยู่กับที่
ให้ถือธงด้วยมือขวา โคนคันธงจดพื้นและแนบกับลำตัว แขนซ้ายแนบลำตัวอยู่ในท่าตรง เมื่อได้ยินคำสั่งให้ทำความเคารพ ใช้มือซ้ายจับคันธงเหนือมือขวาและยกคันธงขึ้นมาด้วยมือซ้ายมือขวาจับคันธงเหยียดถ ตรงแนบลำตัว ยกคันธงขึ้นมาจนแขนซ้ายเสมอบ่าขวา ข้อศอกซ้ายตั้งได้ฉาก ครั้นแล้วทำกึ่งขวาหัน ลดปลายธงลงข้างหน้าช้าๆ จนคันธงขนานกับพื้น มือซ้ายอยู่เสมอแนวบ่าห่างจากตัวพอสมควร มือขวาจับโคนคันธงแขน เหยียดตรงไปทางด้านหลังตามแนวคันธง แล้วค่อยๆยกคันธงขึ้นช้าๆ จนคันธงตั้งตรง ทำกึ่งซ้ายหัน ใช้มือซ้ายจับคันธงลดลงมา จนมือซ้ายชิดมือขวา โค่นคันธงจดพื้น สลัดมือซ้ายกลับอยู่ในท่าตรง ท่าตามระเบียบพักก็ยืนเหมือนกับที่ตรง เพียงหย่อนเข่าซ้ายหรือขวาเล็กน้อย
ขณะเดิน
เมื่อได้ยินคำสั่งให้สวนสนามและแบกอาวุธให้ใช้มือซ้ายจับคันธงเหนือมือขวาแล้วชิดมือขวายกคันธงขึ้นมา ด้วยมือซ้ายมือขวาเจับคันธงเหยียดตรงแนบลำตัว ยกคันธงขึ้มาจนแขนซ้ายเสมอบ่าขวาข้อศอกซ้ายตั้ง ได้ฉากปล่อยมือซ้ายกลับลงที่เดิม งอข้อศอกขวา ๙๐ องศา คันธงอยู่บนบ่าขวา อยู่ในท่าแบกอาวุธ เมื่อเดิน ถึงธงที่ ๑ (ธงระวัง) ให้ลดธงลง จากบ่ามาแนบลำตัว มือซ้ายจับคันธงข้อศอกงอตั้งฉากขนานกับพื้นแขนขวาเหยียดตรงข้าลลำตัว ปลายธงชี้ ตรง เมื่อถึงธงที่ ๒ (ธงทำความเคารพ) ให้เหยียดแขนซ้ายตรงไปข้างหน้ากำคันธงไว้ ให้คันธงเอนออกไปข้างหน้า ประมาณ ๔๕ องศา แขนขวาเหยียดตรงแนบข้างลำตัว ตาแลตรงไปข้างหน้า เมื่อถึงธงที่ ๓ (ธงเลิกทำความเคารพ) ให้ดึงธงขึ้นมาอยู่ในท่าตรงสลัดแขนซ้ายกลับที่เดิมงอข้อศอกขวาคันธงอยู่บนบ่าขวาอยู่ในท่าแบกอาวุธเดินไปตามปกติ โอกาสที่จะทำความเคารพจะทำเมื่อ มีการบรรเลงเพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงมหาฤกษ์เพลงมหาชัย เพลงสรรเสริญเสือป่า เมื่อธงคณะลูกเสือแห่งชาติ ธงลูกเสือจังหวัดที่เชิญผ่านไป องค์พระ ประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ประธานในพิธีการลูกเสือที่แต่งเครื่องแบบ
การทำความเคารพของผู้ถือป้ายประจำกองลูกเสือ
ขณะอยู่กับที่
ให้ถือป้ายโดยใช้มือขวากำคันป้ายชิดกับแผ่นป้ายมือซ้ายกำต่อจากมือขวา โคนป้ายอยู่ระหว่างปลายเท้าทั้งสอง เมื่อได้ยินคำสั่งให้ทำความเคารพก็ยืนในท่าตรงปกติมืออยู่ที่เดิม เมื่อได้ยินคำสั่งให้แบกอาวุธ ให้ ปล่อยมือขวาลงมือซ้ายยกป้ายไปไว้ที่รองไหล่ขวา มือขวาจับที่โคนคันป้าย แขนซ้ายงอขนานกับพื้น แขนขวา เหยีดตรง แผ่นป้ายอยู่เหนือศรีษะเล็กน้อย
ขณะเดิน
เดินถือป้ายในท่าแบกอาวุธ หน้ามองตรง เมื่อเดินก่อนถึงธงที่ ๑ ประมาณ ๒๐ ก้าวให้บิดป้ายไปทางขวา และเดินไปเรื่อยๆจนผ่านธงที่ ๓ ให้บิดป้ายกลับ
การใช้ไม้ถือของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
ขณะทำความเคารพอยู่กับที่
ผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับกองลูกเสือสามัญ,สามัญรุ่นใหญ่, วิสามัญ และผู้ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับขบวนสวนสนามเมื่อร่วมพิธีสวนสนามและทบทวนคำปฎิญาณจะต้องมีไม้ถือ มีข้อปฏิบัติ คือ
๑.ท่าถือปกติ ใช้มือซ้ายถือไม้ถือ โดยเอาหนีบไว้ใต้ซอกรักแร้ แขนซ้ายท่อนบนขนานกับลำตัวและ หนีบไม้ไว้แขนซ้ายท่อนล่างเหยียดตรงไปข้างหน้า มือซ้ายกำโคนไม้ถือ ห่างปลายโคนไม้ถือประมาณ ๑ ฝ่ามือหงายฝ่ามือขึ้นให้ไม้ถือขนานกับพื้น
๒.ท่าบ่าอาวุธ เอามือขวาจับที่โคนไม้ถือ โดยคว่ำฝ่ามือลง แล้วดึงไม้ถือออกจากซอกรักแร้ ชี้ไม้ถือให้เฉียงประมาณ ๔๕ องศา ปลายชี้ขึ้นฟ้า แขนขวาเหยียดตรง ปล่อยแขนซ้ายลงข้างลำตัว หลังจากนั้นดึงไม้ถือเข้าหาปากห่างจากปากประมาณ ๑ ฝ่ามือ แขนขวางอตั้งฉากขนานกับพื้น ไม้ถือชี้ขึ้นตั้งตรงมือขวากำโคนไม้ถือ นิ้วทั้ง ๔ เรียงกันด้านนอก นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านใน จากนั้นจับไม้ถือเข้าหาร่องไหล่ขวา แขนขวาเหยีดตรงแนบลำตัว โคนไม้ถืออยู่ระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือ ปลายไม้ชี้ขึ้นตรงอยู่ในร่องไหล่ขวา
๓.ท่าวันทยาวุธ จะต้องทำต่อจากท่าบ่าอาวุธ ซึ่งในขณะนั้นไม้ถืออยู่ที่ร่องไหล่ขวา ให้ยกไม้ถือขึ้น เสมอปากห่างจากปากประมาณ ๑ ฝ่ามือ แขนขวางอขนานกับพื้น จากนั้นให้ฟาดไม้ลงให้ปลายไม้ชี้ที่พื้นดิน เฉียงประมาณ ๔๕ องศา ปลายไม้ห่างจากพื้นดินประมาณ ๑ คืบ แขนขวาแนบลำตัว แขนซ้ายแนบลำตัว เหมือนอยู่ในท่าตรง หน้ามองตรง
๔.ท่าเรียบอาวุธ ทำต่อจากท่าวันทยาวุธ ยกไม้ถือขึ้นเสมอปากแล้วดึงไม้ถือเข้าหาร่องไหล่ขวา เหมือนท่าบ่าอาวุธ (เป็นจังหวะที่ ๑ ซึ่งเมื่องสั่ง"เรียบ-อาวุธ" จะทิ้งจังหวะให้ทำในจังหวะที่ ๑ ก่น คือสั่งว่า "เรียบ" แล้วทิ้งช่วงไว้จนทำเสร็จจังหวะที่ ๑ แล้วสั่งว่า "อาวุธ" จึงเริ่มทำจังหวะที่ ๒) จากนั้นกำโคนไม้ถือ เหยียดแขนขวาขึ้นเฉียงขึ้น ๔๕ องศา ปลายไม้ถือชี้ขึ้นฟ้า หักข้อมือขวาลงให้ปลายไม้ถือชี้เข้าหาซอกรักแร้ ซ้ายงอแขนซ้ายขึ้นรองรับไม้ถือ จับไม้ถือด้วยมือซ้ายเหมือนท่าถือปกติ
การทำความเครพด้วยไม้ถือจะทำเมื่อได้ยินคำสั่ง ดังนี้
ครั้งที่ ๑ สั่งเมื่อประธานในพิธีมาถึงและวงดุริยางค์บรรเลงเพลง มหาฤกษ์ จนจบเพลง "เคารพประธานในพิธี-ตรงหน้าระวัง" ก็ดึงไม้ถือจากท่าถือปกติมาเป็นท่าบ่าอาวุธ"วันทยาวุธ" จับไม้ถือจากท่าบ่าอาวุธเป็นท่าวันทยาวุธ "เรียบ" จากท่าวันทยาวุธมาเป็นท่าบ่าอาวุธถ "อาวุธ" จากท่าบ่าอาวุธกลับมาเป็นท่าถือปกติ
ครั้งที่ ๓ เมื่อจะเริ่มสวนสนาม ดุริยางค์บรรเลงเพลงเดิน เช่น เพลงสยามมานุสติ"แบกอาวุธ" ทำจากท่าถือปกติมาเป็นท่าบ่าอาวุธ
ครั้งที่ ๔ สั่งเมื่อส่งประธานในพิธีกลับ ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์"เคารพประธานในพิธี-ตรงหน้าระวัง" ก็ดึงไม้ถือจากท่าถือปกติมาเป็นท่าบ่าอาวุธ "วันทยาวุธ" จับไม้ถือจากท่าบ่าอาวุธเป็นท่าวันทยาวุธ "เรียบ" จากท่าวันทยาวุธมาเป็นท่าบ่าอาวุธ "อาวุธ" จากท่าบ่าอาวุธกลับมาเป็นท่าถือปกติ
ขณะเดินสวนสนาม
๑.เมื่อเริ่มเดินจะถือไม้ถืออยู่ในท่าบ่าอาวุธ แขนซ้ายแกว่งปกติ แขนขวาแกว่งเล็กน้อย
๒.เมื่อเดินถึงธงที่ ๑ ยกไม้ถือจากท่าบ่าอาวุธมาเสมอปาก ปลายไม้ชี้ขึ้นฟ้าแขนขวางอขนานกับพื้น แขนซ้ายแกว่งปกติ ผู้กำกับฯทำเองเมื่อเดินถึงธงที่ ๑ รองผู้กำกับฯ เมื่อถึงธงที่ ๑ ให้ทำพร้อมกับออกคำสั่งว่า "ระวัง"
๓.เมื่อเดินถึงธงที่ ๒ ก็ฟาดไม้ลงเหมือนท่าวันทยาวุธ แขนซ้ายไม่แกว่ง สลัดหน้าไปทางขวาผู้กำกับฯทำเมื่อถึงธงที่ ๒ รองผู้กำกับฯทำพร้อมออกคำสั่งว่า "แลขวา-ทำ" เมื่อเดินถึงธงที่ ๒
๔.เมื่อเดินถึงธงที่ ๓ ก็ดึงไม้กลับจากท่าวันทยาวุธกลับมาเป็นท่าบ่าอาวุธ ผู้กำกับฯและรองผู้กำกับฯทำเมื่อเดินผ่านธงที่ ๓ โดยไม่ต้องออกคำสั่ง การทำความเคารพด้วยไม้ถือขณะเดินให้ทำไปพร้อมกับเดินโดยทำและออกคำสั่งเมื่อจังหวะตบเท้าซ้าย
geovisit();
'''...........................'''